วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

บทที่ 9 E-Government





Online Job for All. Work from home computer.








          รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกว่า e-Government คือ วิธีการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ โดยการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการ ดำเนินงานภาครัฐ ปรับปรุงการบริการแก่ประชาชน การบริการด้านข้อมูลและสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ประชาชนมีความใกล้ชิดกับภาครัฐมากขึ้น สื่ออิเล็กทรอนิกส์จะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการเข้าถึงบริการของรัฐ ประการสำคัญจะต้องมีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดและเต็มใจจากทั้ง 3 ฝ่าย ได้แก่ ภาครัฐ ภาคธุรกิจและประชาชน ผลพลอยได้ที่สำคัญที่จะได้รับคือ ธรรมาภิบาลและความโปร่งใสที่มีมากขึ้นในกระบวนการทำงานของระบบราชการ อันเนื่องมาจากการเปิดเผยข้อมูล และประชาชนสามารถเข้ามาตรวจสอบได้ตลอกเวลาจึงคาดว่าจะนำไปสู่การลด คอร์รัปชันได้ในที่สุด e-Commerce คือบริการทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบ B2C และ B2B เป็นหลัก e-Government จะเป็นแบบ G2G G2B และ G2C ระบบต้องมีความมั่นคงปลอดภัยเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานของรัฐ ประชาชนอุ่นใจในการรับบริการและชำระเ้งินค่าบริการ ธุรกิจก็สามารถดำเนินการค้าขายกับหน่วยงานของรัฐด้วยความราบรื่น อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญในการให้บริการตามแนวทาง รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ 



ประเภทของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์


ภาครัฐสู่ประชาชน ( Government to Citizens; G2C) เป็นการให้บริการของรัฐสู่ประชาชนโดยตรง โดยที่บริการดังกล่าวประชาชนจะสามารถดำเนินธุรกรรมโดยผ่านเครือข่ายสารสนเทศ ของรัฐ เช่น การชำระภาษีให้แก่กรมสรรพากร, การจดทะเบียน, การจ่ายค่าปรับ , การต่ออายุบัตรประชาชน, การเสียหมายถึง กระบวนการเสนอซื้อขายสินค้าหรือบริการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย (อาจมีมากกว่า 1 คน) ที่เข้ามาแข่งชันเสนอราคากันในช่วงเวลาที่กำหนด เป็นการลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มขีดความสามารถในการจัดหาและจัดจำหน่ายสินค้า โดยการประมูลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

การประมูลเพื่อขาย เป็นการประมูลที่เริ่มขึ้นจากผุ้ที่ต้องการขายสินค้า นำสินค้ามาเสนอขาย แล้วให้ผู้ที่ต้องการซื้อเข้ามาเสนอราคาแข่งขันกัน โดยผู้ซื้อที่เสนอราคาสูงสุดจะเป็นผู้ชนะการประมูลและได้รับสินค้านั้นไป เช่น การประมูลรูปภาพ
การประมูลเพื่อซื้อ เป็นการประมูลที่เริ่มขึ้นจากผู้ที่ต้องการซื้อสินค้า ได้นำลักษณะสินค้าไปลงไว้ แล้วให้ผู้ขายเข้ามาเสนอราคาแข่งขันกัน โดยผู้ขายที่สามารถเสนอราคาได้ต่ำที่สุดจะเป็นผู้ชนะการประมูล ผู้ซื้อจะต้องซื้อสินค้าจากผู้ที่ชนะนั้น เช่น ต้องการซื้อคอมพิวเตอร์
  • Bartering เป็นการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการโดยปราศจากรายการทางการเงิน ซึ่งจะมีบริษัทที่จัดการเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการให้กับองค์กร เอกชน เช่น bartabrokeโดยบริษัทเหล่านี้จะพยายามหาผู้ที่จะมาแลกเปลี่ยน 



ภาครัฐสู่ภาครัฐ (Government to Government; G2G)


          เป็นรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปของหน่วยราชการ ที่การติดต่อสื่อสารระหว่างกันโดยกระดาษและลายเซ็นในระบบเดิมในระบบราชการ เดิม จะมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วยการใช้ระบบเครือข่ายสารสนเทศ และ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างเป็นทาง การเพื่อเพิ่มความเร็วในการดำเนินการ ลดระยะเวลาในการส่งเอกสารและข้อมูลระหว่างกัน นอกจากนั้นยังเป็นการบูรณาการการให้บริการระหว่างหน่วยงานภาครัฐโดยการใช้ การเชื่อมต่อโครงข่ายสารสนเทศเพื่อเอื้อให้เกิดการทำงานร่วมกัน , และการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน ทั้งนี้รวมไปถึงการเชื่อมโยงกับรัฐบาลของต่างชาติ และองค์กรปกครองท้องถิ่นอีกด้วย ระบบงานต่าง ๆ ที่ใช้ในเรื่องนี้ ได้แก่ ระบบงาน Back Office ต่าง ๆ ได้แก่ ระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ระบบบัญชีและการเงินระบบจัดซื้อจัดจ้างด้วยอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น อย่างไรก็ดี จะต้องมีกระบวนการในการลดแรงต่อต้านของบุคลากรที่คุ้นเคยกับการทำงานในระบบ เดิม ตัวอย่างเช่น การทำหนังสือเดินทาง, วีซ่า หรือข้อมูลอาชญากรข้ามชาติ
 


ภาครัฐสู่พนักงาน (Government to Employees; G2E)


          เป็นการให้บริการที่จำเป็นของพนักงานของรัฐ กับรัฐบาล โดยที่จะสร้างระบบเพื่อช่วยให้เกิดเครื่องมือที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน และการดำรงชีวิต เช่น ระบบสวัสดิการ ระบบที่ปรึกษาทางกฎหมาย และข้อบังคับในการปฏิบัติราชการ ระบบการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ เป็นต้น





e-government หรือรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วยหลักการที่เป็นแนวทาง 4 ประการคื อ

1.สร้างบริการตามความต้องการของประชาชน
2.ทําให้รัฐและการบริการของรัฐเข้าถึงได้มากขึ้น
3.เกิดประโยชน์แก่สังคมโดยทั่วกัน
4.มีการใช้สารสนเทศที่ดีกว่าเดิม 




องค์ประกอบของ e-Government

1. ความพร้อมของผู้นำ

2.ความพร้อมในเชิงโครงสร้างพื้นฐาน

3. ความพร้อมของภาครัฐบาล

4. ความพร้อมของประชาชนและสิ่งแวดล้อม



ประชาชนจะได้อะไร จาก E-government

    สร้างโอกาสให้ประชาชนได้เลือกใช้บริการที่หลากหลายผ่านอินเทอร์เน็ต
    ประชาชนได้รับบริการจากรัฐที่ดีขึ้น
    รัฐให้ข้อมูลกับประชาชนได้ มากขึ้น
    ลดช่องว่างและความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงข้อมูลและบริการของรัฐ
    ลดความยุ่งยากของกฎเกณฑ์ เพิ่มความโปร่งใสในการทำงาน
    เพิ่มความเชื่อมั่นของประชาชนในการรับบริการอย่างปลอดภัย และเป็นส่วนตัว



ทำไมจึงต้องมี e-Government

                ในโลกยุคไร้พรมแดนนั้น e-Commerce ถือว่าเป็นยุทธวิธีสำคัญในการแข่งขันเกี่ยวกับการค้า การผลิต และการบริการ จึงทำให้เกิดคำว่า B to C (Business to Consumer) ในขณะเดียวกันประเทศต่างๆ เริ่มมองเห็นว่า แม้จะพัฒนา e-Commerce ให้ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นเพียงใดก็ตาม ถ้าขาดเสียซึ่งตัว G (Government) ก็จะขาดความคล่องตัวไปด้วย G จึงมีบทบาทสำคัญในนโยบายของนานาประเทศรวมทั้งประเทศไทย และทำใ้ห้เกิดคำใหม่ คือ G to B G to C และ G to G ซึ่งก็คือการนำ e-Commerce มาใช้กับการพัฒนาประเทศและบริการของภาครัฐไ้ด้ ในแนวทางที่เรียกว่า e-Government (electronic-Government) หรือ รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ นั่นเอง 



ลักษณะการให้บริการของ e-Government

                หลักสำคัญของการสร้าง e-Government คือการนำบริการของภาครัฐสู่ประชาชน โดยใช้อิเล็กทรอนิกส์เป็นสื่อในการให้บริการ โดยหลักการของ

   - ที่เดียว  
   - ทันใด  
   - ทั่วไทย 
   - ทุกเวลา 
   - ทั่วถึงและเท่าเทียม 
   - โปร่งใสและเป็นธรรมาภิบาล








บทที่ 6 e-CRM : Electronic Customer Relationship Management






Customer relationship management (CRM)
          CRM  หมายถึง เป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวกับลูกค้าเรียนรู้ความต้องการที่แตกต่างกันของลูกค้า และตอบสนองความต้องการของ  ลูกค้าด้วยสินค้าหรือบริการที่เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละคนมากที่สุด



เป้าหมายของ CRM

          เป้าหมายของCRM  นั้นไม่ได้ เน้นเพียงแค่การบริการลูกค้าเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการเก็บข้อมูลพฤติกรรม  ในการใช้จ่ายและความต้องการของลูกค้า จากนั้นจะนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์ และใช้ให้เกิดประโยชน์  ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือการบริการรวมไปถึงนโยบายในด้านการจัดการ  ซึ่งเป้าหมายสุดท้าย  ของการพัฒนาCRM ก็คือการเปลี่ยนจากผู้ บริโภคไปสู่การเป็นลูกค้าตลอดไป



กระบวนการทำงานของระบบCRM

  Identify เก็บข้อมูลว่าลูกค้าของบริษัทเป็นใคร เช่น ชื่อลูกค้า ข้อมูลสําหรับติดต่อกับลูกค้า

  Differentiate วิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าแต่ละคน และจัดแบ่งลูกค้าออกเป็นกลุ่มตามคุณ
  ค่าที่ลูกค้ามีต่อบริษัท

  Interact มีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าเพื่อเรียนรู้ความต้องการของลูกค้า และเพื่อสร้างความพึงพอ
  ใจให้กับลูกค้าในระยะยาว

  Customize นําเสนอสินค้าหรือบริการที่มีความเหมาะสมเฉพาะตัวกับลูกค้าแต่ละคน



ขั้นตอนการทำงานของ CRM

1. การวิเคราะห์ลูกค้าผู้ประกอบการธุรกิจจะต้องสามารถใช้ข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าที่มีอยู่ในฐานข้อมูลได้อย่างมีคุณค่า
และมีประสิทธิภาพ  และการเก็บข้อมูลของลูกค้าและการนำไปใช้ จึงควรมีการจัดการอย่างเป็น
ระบบ ดังนี้
- ศึกษาข้อมูลประวัติลูกค้า

- การจั ดเก็ข้อมูลของลูกค้าให้ถูกต้องครบถ้วนและมีความละเอียดพอสมควรเก็บไว้ในฐานข้อมูลโดยการใช้เทคโนโลยีมาช่วยเก็บ

- จัดแบ่งกลุ่มลูกค้า อาจแบ่งตามพฤติกรรมการซื้อหรือการบริโภคผลิตภัณฑ์

- จัดเรียงลำดับลูกค้าตามความสำคัญที่มีต่อบริษัท



2. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางการตลาด

สภาพแวดล้อมทางการตลาดแบ่งออกเป็น2 ส่วน คือ ระบบภายใน และ ระบบภายนอก ซึ่งทั้งสองระบบต่างมี
ความสำคัญต่อองค์กร หากมีจุดบกพร่องหรือเกิดข้อจำกัดขึ้นที่ใด อาจจะทำให้ธุรกิจประสบกับความล้มเหลวได้


3. การแบ่งส่วนตลาด

ซึ่งสามารถแบ่งลูกค้าออกเป็น3 ประเภท คือ ลูกค้าที่เป็นธุรกิจค้าส่ง ธุรกิจค้าปลีก และผู้บริโภค

4. การกำหนดตลาดเป้าหมาย
สามารถแบ่งเป็น2 ประเภท ได้แก่ ประเภทTraders คือ กลุ่มคนกลางในช่องทางการจัดจำหน่าย และประเภท Consumers คือ กลุ่มผู้บริโภค ทั้งนี้ บริษัทไม่ควรดึงลูกค้าทุกคนเข้ามาเป็นกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด



5. การจัดทำแผนการตลาด
บริษัทควรจะจัดลำดับความสำคัญของแต่ละกลุ่มเป้าหมายว่าควรให้ความสำคัญกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายใดเป็นอันดับแรกและ
รองลงไป  และแต่ละกลุ่มนั้นผู้ใดมีบทบาทและมีอำนาจในการตัดสินใจซื้อ  เครื่องมือหรือกิจกรรมการสื่อสารการตลาดที่นำมาใช้กับ
E-CRM นั้นจะต้องมีความหลากหลาย ดังนี้
การตลาดโดยตรง Direct Marketing

    ได้แก่ โทรศัพท์( Telemarketing ) เช่นCall Center ใบรับประกันสินค้า( Warranty Card ) การตลาดอิเล็กทรอนิกส์
( E-Marketing ) เช่น การสร้างเวปไซต์ที่ให้สาระน่ารู้เกี่ยวกับสินค้า และมีสื่อตอบกลับให้ลูกค้าสื่อสารกลับมา
การประชาสัมพันธ์( Public Relations )
    ได้แก่ เอกสารข่าวแจกในรูปของใบปลิว แผ่นพับ วารสาร การจัดกิจกรรมพิเศษ( Event Marketing ) เช่น การเชิญลูกค้าเป้าหมายที่ถูกต้องมาร่วมงานที่บริษัทจัดขึ้น



ประโยชน์ ของ CRM

- มี รายละเอียดข้อมูลของลูกค้าในด้านต่างๆ ได้  แก่ Customer Profile
- Customer Behavior
- วางแผนทางด้านการตลาดและการขายอย่างเหมาะสม
- ใช้กลยุทธ์ ในการตลาด และการขายได้ อย่างรวดเร็วอย่างมี ประสิทธิ ภาพตรงความต้องการของ
ลูกค้า
- เพิ่มและรักษาส่วนแบ่งตลาดของธุรกิจ
- ลดการทำงานที่ซับซ้อน ลดค่าใช้ จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน เพิ่มโอกาสในการ
แข่งขันก่อให้เกิดภาพพจน์ที่ดีต่อองค์ การ



e-CRM : Electronic Customer Relationship Management

          E-CRM  หมายถึง กระบวนการจัดการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าทาง internet มีการผสมผสานการใช้งานเทคโนโลยี บุคลากร และกระบวนการขายสินค้าหรือบริการเข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้มาซึ่งลูกค้า รักษาลูกค้าไว้และสร้างกำไรสูงสุดจากลูกค้า



คุณสมบัติที่ดีของ e-CRM

         ความสามารถในการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว  และสามารถในการประเมินความ
ต้ องการของลู กค้ าล่วงหน้ าได้  เพื่อให้ การปฏิ บั ติ งานสามารถเข้ าถึ งความต้ องการของลู กค้ าได้
สูงสุด



องค์ประกอบของE-CRM

- ระบบการจัดการ
- คน
- เทคโนโลยี



หน้าที่หลักของ e-CRM

ขายสินค้าชนิดอื่น(Cross-sell) เช่น
ตัวอย่าง: การขายประกันรถยนต์ ประกันบ้านกับลูกค้าที่ซื้อประกันชีวิต
(Offer : Complementary Product)

ขายสินค้าเกรดดีขึ้น หรือ ขายปริมาณมากขึ้น เช่น(Up-sell)


การรักษาลูกค้าเก่าไว้ หรือ การเรียกลูกค้าเก่ากลับมา(Save or Win Back)
ตรวจสอบ
✓ ลูกค้าที่มีแนวโน้มการซื้อลดลง
✓ ลูกค้าที่ขาดการติดต่อ
กลยุทธ์
✓ วิเคราะห์และเสนอสินค้า และหรือโปรแกรมที่จูงใจ
✓ เสนอกิจกรรมเพื่อให้ลูกค้าเข้าร่วม



ขั้นตอนการทำ e-CRM
- พัฒนาฐานข้อมูล
- เลือกเทคโนโลยี
- เลือกโปรแกรมการตลาด
- ติดต่อสื่อสาร
- ประเมินผล
- ปรับปรุงฐานข้อมูล


บทที่ 8 e - Procurement



ระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (e – procurement)
 
          เป็นระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการให้บริการที่เกี่ยวข้องในกิจกรรมการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ  เช่น  การตกลงราคา การสอบราคา  การประกวดราคา  และการจัดซื้อรวมแบบออนไลน์  รวมถึงการลง
ทะเบียนบริษัทผู้ค้า  การทำe – Catalog  และการทำงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการจัดซื้อที่เป็น
Web Based Application  เพื่อทำให้ระบบการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
กล่าวคือ  ใช้ระยะเวลาจัดหาพัสดุน้อยลง  และได้พัสดุที่มีคุณภาพในราคาที่เหมาะสม  รวมทั้งเพิ่มความ
โปร่งใสของกระบวนการจัดหาและสามารถติดตามตรวจสอบกระบวนการทำงานได้



e-Procurement หมายถึง การทำงานในแต่ละขั้นตอนของระบบ ข้อมูลจะถูกจัดส่งและจัดเก็บไปในรูป
แบบของข้ อมู ลอิ เล็ กทรอนิ กส์ซึ่งข้ อมู ลเหล่านี้ พร้ อมที่จะถู กนำไปวิ เคราะห์ต่อไป โ ดยข้ อมู ลครอบคลุม
ตั้งแต่การค้นหาและเลือกสินค้าจากe-Catalog การออกใบขอสั่งซื้อ  การรับและการอนุมัติใบขอสั่งซื้อ
การออกใบสั่งซื้อ การติดตามการสั่งซื้อ การตรวจรับสินค้าและการชาระเงิน



วัตถุประสงค์ในการพัฒนาระบบe-Procurement ในประเทศไทย

 •ความมีประสิทธิภาพ(Efficiency) จากการจัดซื้อสินค้าหรือบริการได้ตรง กับความต้องการ
 ของผู้ใช้
 •ความพร้ อมรั บผิ ด(Accountability)  และการสร้ างระบบธรรมาภิ บาล(Good
 Governance) โ ดยเจ้า หน้าที่ผู้รับผิดชอบระบบจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐควรต้องมี ความ
 พร้อมรับผิดต่อการตัดสินใจของตน
 •ความโปร่งใส(Transparency) โ ดยกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างต้องเป็นกระบวนการที่เปิด
 เผยต่อสาธารณะ
 •ความคุ้มค่า(Value for Money) เพื่อลดปัญหาการที่หน่วยงานรัฐมักซื้อสินค้าหรือบริการ
 ในราคาที่แพงกว่าของภาคเอกชน



ความมุ่งหมาย ของ e-Procurement ในประเทศไทย

•ลดการรั่วไหลในระบบการจัดซื้อจัดจ้าง  ซึ่งจะนำไปสู่การลดค่าใช้จ่ายของ  ภาครัฐ  และส่ง
เสริมความโปร่งใสและธรรมาภิบาล ในการบริหารราชการแผ่นดิน

•ช่วยภาครั ฐในการพั ฒนาระบบการจั ดซื้ อจั ดจ้ างที่มุ่งไปสู ่ระบบที่มี มู ลค่าเพิ่มมากขึ้ นโดยลด
ทรัพยากรที่ต้องใช้ไปกับการจัดซื้อจัดจ้าง



ประโยชน์ของการพัฒนาระบบ e-Procurement

•เอกสารการยื่นประกวดราคา คำชี้แจงและคำอธิบาย และข้อมูลการตัดสิน ผลการประกวดราคาของโครงการต่าง ๆ ที่ผ่านการคัดเลือก
ไปแล้วมีความชัดเจนและครบถ้วนสมบูรณ์
•การกระจายข้อมูล(Distribution) ไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องฝ่ายต่าง ๆโดยเฉพาะ ผู้ค้าที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการดังกล่าวซึ่งอาจใช้วิธีการ
ต่าง ๆ เช่น การส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องไปยังผู้ค้าโดยไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์(Electronic Mail) ให้มีความรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์
•การยื่นประกวดราคาผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Bid Submission)  ซึ่งต้องมีการออกแบบตู้รับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
(Electronic Vault) ที่มีความปลอดภัย ไม่สามารถเปิดได้ก่อนเวลาที่กำหนด อันเป็นกระบวนการที่โปร่งใสและตรวจสอบได้ ทุกขั้นตอน
•การเพิ่มความสามารถของระบบให้สูงขึ้นเพื่อให้เกิดบริการมูลค่าเพิ่ม(Value Added Service) ต่าง ๆ เช่น บริการสนับสนุนผู้ค้า
(Supplier Support System) ต่าง ๆ เช่นระบบสนับสนุนการจัดทำเอกสารประกวดราคา ระบบการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ การบริหารห่วงโซ่อุปทาน(Supply Chain Management) ที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้าง
•การเพิ่มความสามารถของระบบให้สูงขึ้น เพื่อให้เกิดบริการมูลค่าเพิ่ม(Value Added Service) ต่าง ๆ เช่น บริการสนับสนุนผู้ค้า
(Supplier Support System) ต่าง ๆ เช่น ระบบสนับสนุนการ จัดทำเอกสารประกวดราคา ระบบการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ การ
บริหารห่วงโซ่อุปทาน(Supply Chain Management) ที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้าง
การพัฒนาระบบe-Catalog จะมีผลให้สินค้าและบริการในอนาคต ที่ส่วนราชการจัดหามีคุณภาพที่ดีในราคาที่เหมาะสมมากยิ่งขึ้น รวมทั้ง มีทางเลือกในการพิจารณาจัดหาพัสดุได้มากยิ่งขึ้น





ขั้นตอนของระบบ e-Procurement

•ค้นหาสินค้า/บริการที่จะซื้อผ่านE-Catalog
•เลือกหมวดสินค้าที่ต้องการจะซื้อผ่านE-Shopping List
•จัดประกาศเชิญชวนผ่านWeb-Site
•ผู้ขายเสนอคุณสมบัติของสินค้าทางอินเตอร์เน็ต(E-RFP)
•ผู้ซื้อตรวจสอบราคากลาง(E-RFQ) และTrack Record ของผู้ขาย
•ประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์(E-Auction)
•ประกาศผล ผู้ชนะและส่งมอบ/ตรวจรับพัสดุ
•จ่ายเงินตรงด้วยระบบ E-Payment



ระบบ e–Catalog
 
         เป็นมาตรฐานระบบCatalog ที่รวบรวมรายละเอียดของสินค้าและบริการ ซึ่งอำนวยความสะดวกให้ผู้ค้า/ผู้รับจ้าง(Supplies) ที่มีคุณสมบัติทำธุรกรรมสามารถเข้ามา ทำการแจ้งและปรับปรุงรายการสินค้า/บริการของตนเองได้ การจัดการCatalog ของผู้ค้า/ผู้รับจ้าง จะดำเนินการผ่านระบบมาตรฐานกลางโดยสามารถLogin เข้าสู่ระบบการจัดซื้อจัดจ้างทางอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐเพื่อ
ปรับปรุงรายการสินค้า/บริการเพื่อให้ส่วนราชการสามารถเข้าสู่ระบบเพื่อค้นหาข้อมูลและพิจารณาสั่งซื้อจากสินค้า/
บริการจากe-Catalog ได้ตลอดเวลา




e-Market Place

          ตลาดกลางรวบรวมสินค้าและร้านค้าหรือบริษัท จำนวนมาก เพื่อเป็นสื่อกลางในการซื้อE-Marketplace -ขายสินค้าระหว่าE-Marketplace




ข้อดีของe-procurement ในด้านของผู้ขาย

•เพิ่มปริมาณการขาย
•ขยายตลาด และได้รับลูกค้ากลุ่มใหม่
•- ดำเนินการบริหารการขาย และกิจกรรมทางการตลาดในต้นทุนต่ำ
•- เวลาของกระบวนการสั้นลง
•- พัฒนาให้พนักงานมีประสิทธิภาพดีขึ้น
•- กระบวนการประมูลเป็นไปในทิศทางเดียวกัน




บทที่ 7 Electronic Supply Chain Management







           กระบวนการ Supply Chain Management หรือ SCM เป็นกระบวนการของการบริหารทุกขั้นตอน นับตั้งแต่ การนำเข้าวัตถุดิบสู่กระบวนการผลิต กระบวนการสั่งซื้อ จนกระทั่งส่งสินค้าถึงมือลูกค้าให้มีความต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมกับสร้างระบบให้เกิดการไหลเวียนของข้อมูลที่ทำให้เกิดกระบวนการทำงาน ของแต่ละหน่วยงานส่งผ่านไปทั่วทั้งองค์การ การไหลเวียนของข้อมูลยังรวมไปถึงลูกค้า และผู้จัดส่งวัตถุดิบด้วย


กระบวน การ Supply Chain Management มีส่วนสำคัญที่ช่วยให้องค์การยกระดับความสามารถในการบริหาร เช่น การลดสินค้าคงคลัง การเพิ่มผลิตภาพหรือการลดความสูญเปล่าในกระบวนการทำงาน ส่งเสริมความเติบโตของธุรกิจ เช่น การเพิ่มโอกาสในการออกสินค้าใหม่ให้เร็วขึ้น การเปิดตลาดใหม่ ๆ การสร้างความพอใจแก่ลูกค้ามากขึ้น ส่งเสริมความยั่งยืนของธุรกิจ เช่น การลดต้นทุนธุรกิจ การบริหารเงินทุนหมุนเวียน เป็นต้น

 
Supply Chain Management  (SCM)  คือ กระบวนการโดยรวมของการไหลของวัสดุ สินค้า ตลอดจนข้อมูล และธุรกรรมต่าง ๆ ผ่านองค์การที่เป็นผู้ส่งมอบ ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย ไปจนถึงลูกค้าหรือผู้บริโภคโดยที่องค์การต่าง ๆ เหล่านี้มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจต่อกัน
Supply Chain Management 
          ระบบที่จัดการการบริหารและเชื่อมโยงเครือข่ายตั้งแต่ suppliers, manufacturers, distributors  เพื่อส่งมอบสินค้าหรือบริการให้ลูกค้าโดยมีการเชื่อมโยงระบบข้อมูลวัตถุดิบสินค้าและบริการเงินทุนรวมถึงการส่งมอบเข้าด้วยกันเพื่อให้การส่งมอบเป็นไปอย่างมี ประสิทธิ ภาพและสามารถส่งมอบได้ตรงตามเวลาและความต้องการ 








 ประโยชน์ของการทํา SCM

1. การเคลื่อนไหลของวัตถุดิบและสารสนเทศเป็นไปอย่างราบรื่น
2. ปรับปรุงระดับของสินค้าคงเหลือ
3. เพิ่มความเร็วได้มากขึ้ น
4. ขจัดความสิ้นเปลืองหรือความสูญเปล่าต่างๆ ในกระบวนการทางธุรกิจให้หมดไปได้
5. ลดต้นทุนในกิจกรรมต่างๆ ได้
6. ปรับปรุงการบริการลูกค้า





การบริหารจัดการซัพพลายเชน

1. ศักยภาพในการประสานระบบการจัดการระหว่างกลุ่ม  suppliers (Supply-management interface capabilities)  
           เพื่อให้ระบบปฏิบัติการโดยรวมมีต้นทุนต่ำที่สุดมีระบบโลจิสติกส์ในการส่งผ่านวัตถุดิบผลิตและส่งมอบสินค้าที่มีประสิทธิภาพและสามารถใช้ประสิทธิภาพของระบบโลจิสติกส์ในการแข่งขันเชิงรุกเพื่อสร้างสรรค์ระบบการส่งมอบสินค้าที่รวดเร็ว ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้มากขึ้น
2 .  ศั กยภาพในการประสานระบบการจัดการให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า
(Demand-management interface capabilities)
          เป็นระบบการบริหารจัดการเพื่อการให้บริการที่มีคุณภาพและการสร้างความพึ่งพอใจให้กับลูกค้า ทั้งก่อนระหว่างและภายหลังการขายเพื่อสร้างความได้เปรียบเพิ่มขึ้นในเชิงการแข่งขันคุณภาพโลจิสติกส์ที่ต้องการ คือ ความรวดเร็วการมีสินค้าพร้อมจำหน่ายเมื่อลูกค้าต้องการการส่งมอบสินค้ าที่สมบูรณ์สอดคล้องตามความต้องการของลูกค้าและการมีระบบสื่อสารที่ลูกค้าสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องหรือสอบถามและร้องเรียนกับทางบริษัทได้สะดวกศักยภาพในการบริการยังหมายถึงความสามารถในการให้บริการที่ยืดหยุ่นมากขึ้นในแง่ของการเปลี่ยนแปลงค่าสั่งซื้อในเรื่องของปริมาณ สถานที่ ชนิดได้ในระยะเวลากระชั้นมากขึ้นตลอดจนความสามารถในการผลิตและส่งมอบสินค้าในปริมาณมากด้วยความรวดเร็วได้เมื่อเกิดความต้องการสินค้าแบบไม่คาดหมายขึ้น




3. ศักยภาพในการประสานระบบการจัดการสารสนเทศ (Information management capabilities)
ระบบสื่อสารระหว่างองค์กรในซัพพลายเชนมีความสำคัญอย่างยิ่งก่อนที่บริษัทข้ามชาติ จะเริ่มต้นประกอบการในประเทศต่างๆ จะต้องมีการวางโครงสร้างพื้นฐานทาง  IT พิจารณาวางแผนกับปัญหาในเรื่องการประสานข้อมูลต่างๆ ทั้งในระบบองค์ กรและระหว่างองค์กรโดยพัฒนาร่วมกันไปพร้อมๆ กับการวางกลยุทธ์ ระบบสื่อสารที่ดีทำให้เกิดความรวดเร็วและประหยัดต้นทุนในการดำเนินงานได้มากเมื่อเริ่มต้นประกอบการแล้วจึงมักได้เปรีบคู่แข่งในท้องถิ่นเสมอประเด็นที่ต้องพิจารณาในการพัฒนาระบบการสื่อสารได้ แก่   ระดับเทคโนโลยี  เช่น hardware, software  การออกแบบและระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระดับการใช้ประโยชน์ในข้อมูลร่วมกันข้อมูลในระดับปฏิบัติการข้อมูลด้านยุทธ์ ศาสตร์
ข้อมูลทางการเงินหรือข้อมูลในระดับเทคนิคและความสามารถในการเชื่อมต่อของระบบ  เช่น ความรวดเร็วในการส่งผ่านข้อมูลความรวดเร็วในการดำเนินการเมื่อได้รับข้อมูล และ การจัดวางรูปแบบข้อมูลที่สามารถนำไปใช้งานต่อเนื่องได้ทันที



บทที่ 5 e-Marketing





          E-Marketing ย่อมาจากคำว่า Electronic  Marketing หรือ เรียกว่า “การตลาดอิเล็กทรอนิกส์ ” หมายถึ งการดำเนินกิจกรรมทางการตลดโดยใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆที่ทันสมัยและสะดวกต่อการใช้ งานเข้ามาเป็นสื่อกลางไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์โทรศัพท์ หรือ พีดีเอ ที่ถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกันด้วยอินเทอร์เน็ตมาผสมผสานกับ วิธีการทางการตลาดการดำเนินกิจกรรมทางการตลาดอย่างลงตัวกับกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายขององค์กรอย่างแท้จริง



คุณลักษณะเฉพาะของ e-Marketing

- เป็นการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายในลักษณะเฉพาะเจาะจง (Niche Market)
- เป็นลักษณะเป็นการสื่อสารแบบ 2 ทาง (2 Way Communication)
- เป็นรูปแบบการตลาดแบบตัวต่อตัว (One to One Marketing หรือ Personalize Marketing) ที่ลูกค้าหรือ
กลุ่มเป้าหมายสามารถก าหนดรูปแบบสินค้าและบริการได้ตามความต้องการของตนเอง
- มีการกระจายไปยังกลุ่มผู้บริโภค (Dispersion of Consumer)
- เป็นกิจกรรมที่นักการตลาดสามารถสื่อสารไปยังทั่วทุกมุมโลก ตลอด 24 ชั่วโมง (24 Business Hours)
- สามารถติดต่อสื่อสาร โต้ตอบ ปฏิสัมพันธ์ได้อย่างรวดเร็ว (Quick Response)
- มีต้นทุนต่ าแต่ได้ประสิทธิผล สามารถวัดผลได้ทันที (Low Cost and Efficiency)
- มีความสัมพันธ์กับกิจกรรมการตลาดแบบดั้งเดิม (Relate to Traditional Marketing)
- มีการตัดสินใจในการซื้อจากข้อมูลข่าวสารที่ได้รับ (Purchase by Information)




ความแตกต่างกันระหว่าง e-Marketing, e-Business และ e-Commerce

          E-Marketing คือรูปแบบการทำการตลาดในรูปแบบหนึ่งโดยใช้เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์
เครื่องมือดิจิตอลเข้ามาช่วยในการทำการตลาด แต่ในความหมายสำหรับ E-Business หรือ Electronic Business  นั้นจะมีความหมายที่ใกล้เคียงกับคำว่า E-Commerce หรือ Electronic Commerce มากกว่า
เพียงแต่ว่าความหมายของ E-Business จะมีขอบเขตที่กว้างกว่าโดยหมายถึงการทำกิจกรรมในทุก ๆ ขั้นตอนของกระบวนการธุรกิจผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือเรียกว่า “ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ ” ทั้งการทำการค้าการซื้อการขาย การติดต่อประสานงาน งานธุรการต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในสำนักงาน และการทำธุรกรรมอิ เล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นกระบวนการในการดำเนิ นการทางธุรกิจที่อาศัยระบบสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์มาใช้ในการด าเนินงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางธุรกิจ โดยมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม (Added Value)     ตลอดกิจกรรมทางธุรกิจ (Value Chain)    และ  ลดขั้นตอนของการที่ต้องอาศัยแรงงานคน (ManualProcess) มาใช้แรงงานจากเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (Computerized Process)  แทน รวมถึงช่วยให้การดำงานภายใน ภายนอก มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และยังเป็นการสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้ามากขึ้นอีกด้วย ตัวอย่างเช่นการควบคุมสต๊อคและการชำระเงินให้เป็นระบบอัตโนมัติดำเนินการได้รวดเร็ว และทำได้ง่าย ลักษณะการนำ E-Business มาประยุกต์ใช้กับธุรกิจได้แก่

- การเชื่อมต่อระหว่างกัน ภายในองค์กร (Intranet)
- การเชื่อมต่อระหว่างกัน กับภายนอกองค์กร (Extranet)
- การเชื่อมต่อระหว่างกัน กับลูกค้าทั่วโลก (Internet)


ประโยชน์ของการน า e-Marketing มาใช้ 5Ss’

     นอกจากนี้ Smith and Chaffey ยังได้กล่าวถึง 5Ss’ ซึ่งเป็นประโยชน์ที่ได้รับจากการน าเอากลยุทธ์
การตลาดออนไลน์มาใช้ ได้แก่

- การขาย (Sell)  ช่วยท าให้ยอดขายเพิ่มขึ้นจากการท าการตลาดออนไลน์ ซึ่งจะเป็นเครื่องมือที่ช่วย
ให้ท าให้ลูกค้ารู้จักและเกิดความทรงจ า (Acquisition and Retention tools) ในสินค้าบริการ
เราเพิ่มมากขึ้น ซึ่งน าไปสู่การขายที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย

การบริการ (Serve) การสร้างประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นให้แก่ลูกค้า จากการใช้บริการผ่านออนไลน์ไม่ว่า
จะเป็นการให้สิทธิพิเศษต่างๆ เป็นต้น)

- การพูดคุย (Speak) การสร้างความใกล้ชิดกับลูกค้ามากยิ่งขึ้น โดยสามารถสร้างแบบสนทนาการ
โต้ตอบกันได้ระหว่างกันได้ (Dialogue) ทำให้ลูกค้าสามารถเข้ามาสอบถาม ตลอดจนสามารถ
สำรวจความคิดเห็น ความต้องการของลูกค้า ลูกค้ามีความสนใจในเรื่องใดเป็นพิเศษ

- ประหยัด (Save) การสร้างความประหยัดเพิ่มขึ้นจากงบประมาณการพิมพ์กระดาษ โดยสามารถ
ใช้วิธีการส่งจดหมายข่าว E-Newsletter ไปยังลูกค้าแทนการส่งจดหมายแบบดั้งเดิม

- การประกาศ (Sizzle) การประกาศสัญลักษณ์ ตราสินค้าผ่านออนไลน์ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างสินค้า
ของเราให้เป็นที่รู้จัก มีความคุ้นเคยมากยิ่งขึ้น



เครื่องมือที่สำคัญของการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ 

- Digital advertising
- Raid Marketing
- e-mail Marketing-Video Marketing
- Blogging
- Mobile marketing
- Pay Per Click
- Search Engine Optimization
- Social Media Marketing



6 Cs กับความส าเร็จของการท าเว็บ

1. C ontent (ข้อมูล)
2. C ommunity (ชุมชน,สังคม)
3. C ommerce (การค้าขาย)
4. C ustomization (การปรับให้เหมาะสม)
5. C ommunication, Channel (การสื่อสารและช่องทาง)
6. C onvenience (ความสะดวกสบาย)

บทที่ 4 E-COMMERCE



ความหมายของ E - Commerce

               ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Business) คือ กระบวนการดำเนินธุรกิจโดยอาศัยเทคโนโลยีเครือข่ายที่เรียกว่า องค์การเครือข่ายร่วม (Internetworked Network) ไม่ว่าจะเป็นการพาณิชย์เล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) การติดต่อสื่อสารและการทำงานร่วมกัน หรือ แม้แต่ระบบธุรกิจภายในองค์กร







การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์(ELECTRONIC COMMERCE)
 
          พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การทำธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับการประมวล และการ
ส่งข้อมูลที่มีข้อความ เสียง และภาพ ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการขายสินค้าและบริการด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์,  การขนส่งผลิตภัณฑ์ที่เป็นเนื้อหาข้อมูลแบบดิจิทัลในระบบออนไลน์,  การโอนเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์,  การจำหน่วยหุ้นทางอิเล็กทรอนิกส์,  การประมูล, การออกแบบทางวิศวกรรมร่วมกัน, การจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ, การขายตรง, การให้บริการหลังการขาย ทั้งนี้ใช้กับสินค้า(เช่น สินค้าบริโภค, อุปกรณ์ทางการแพทย์) และบริการ(เช่นบริการขายข้อมูล,  บริการด้านการเงิน,  บริการด้าน  กฎหมาย)  รวมทั้งกิจการทั่วไป(เช่น สาธารณสุข, การศึกษา, ศูนย์การค้าเสมือน )




การประยุกต์ใช้ (E-commerce Application)

- การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (E-Retailing)
- การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Auctions) 
- การบริการอิเล็กทรอนิกส์(E-Service)
- รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government)
- การพาณิชย์ผ่านระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่
   (M-Commerce : Mobile Commerce)



โครงสร้างพื้นฐาน (E-Commerce Infrastructure)

          องค์ประกอบหลักสำคัญด้านเทคโนโลยีพื้นฐาน ที่จะนำมาใช้เพื่อการพัฒนาระบบ
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยแบ่งออกเป็น4 ส่วนได้แก่
- ระบบเครือข่าย(Network)
- ช่องทางการติดต่อสื่อสาร(Chanel Of Communication)
- การจัดรูปแบบและการเผยแพร่เนื้อหา(Format & Content Publishing)
- การรักษาความปลอดภัย (Security)



การสนับสนุน (E-Commerce Supporting)

          ส่วนของการสนั บสนุนจะทำหน้าที่ช่วยเหลือและสนับสนุนส่วนของการประยุกต์
ใช้งานให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเปรียบเสมือนเสาหลักของบ้านที่ทำหน้าที่ค้ำจุนให้หลังคาบ้านอย่างไรก็ตามเสาบ้านก็ต้องอาศัยพื้นบานในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานเพื่อที่จะยืนหยัดอยู่ได้อย่างมั่นคงต่อไป สำหรับส่วนสนับสนุนของE-Commerce มีองค์ประกอบ 5 ส่วนด้วยกันดังต่อไปนี้

1. การพัฒนาระบบงาน E-Commerce Application Development
2. การวางแผนกลยุทธ์ E-Commerce Strategy
3. กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ E-Commerce Law
4. การจดทะเบียนโดเมนเนม Domain Name Registration
5. การโปรโมทเว็บไซต์ Website Promotion




The Dimensions of E-Commerce





 Physical Product คือสินค้าที่จับต้องได้ เช่นคอมพิวเตอร์หรือสิ่งที่เราสัมผัสได้ กับสินค้าที่จับต้องไม่ได้

เช่น การบริการ , software ต่างๆ 

Physical Agent คือการขายสินค้าผ่านหน้าร้านแบบเดิม เช่น Big C , Tesco Lotus , Robinson
Digital Agent คือเปิดหน้าร้านที่อยู่บนโลกออนไลน์
Physical Process คือกระบวนการในการจัดการบริหารที่เป็นแบบเดิม
Digital Process คือนำอิเล็กทรอนิกส์มาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการ
Partial Electronic Commerce Areas คือบางส่วนที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ ยกเว้นที่เป็น Physical
Pure Electronic Commerce คือระบบทุกอย่างออนไลน์บนอินเตอร์เน็ททั้งหมด

ประเภทของE-Commerce


     กลุ่มธุรกิจที่ค้ากำไร (Profits Organization)
     1.Business-to-Business (B2B) คือการทำธุรกิจกับธุรกิจด้วยกันเอง
     2. Business-to-Customer (B2C) คือการทำธุรกรรม ระหว่างธุรกิจกับลูกค้า
     3. Business-to-Business-to-Customer (B2B2C) คือการทำธุรกรรม ระหว่างธุรกิจกับธุรกิจกับลูกค้า
     4. Customer-to-Customer (C2C) คือลูกค้าทำธุรกรรมกับลูกค้า
     5. Customer-to-Business (C2B) คือลูกค้าทำธุรกรรมกับธุรกิจ
     6. Mobile Commerce คือการทำธุรกรรมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่

กลุ่มธุรกิจที่ไม่ค้ากําไร (Non-Profit Organization)
     1. Intrabusiness (Organization) E-Commerce คือการทำธุรกิจภายในองค์การเอง
     2. Business-to-Employee (B2E) คือการให้บริการจากธุรกิจไปยังลูกจ้าง เช่นการยื่นใบลา ลาป่วยแบบอ อนไลน์
     3. Government-to-Citizen (G2C) คือการให้บริการจากภาครัฐไปยังภาคประชาชน เช่น อำเภอยิ้ม , เลื่อนล้อต่อภาษีที่สำนักงานขนส่ง สาขาหนองหอย
     4. Collaborative Commerce (C-Commerce) คือการเอาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอกนิกส์มาให้ความร่วมมือ ระหว่างตัวองค์กรต่าง ๆ ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกัน เช่น บริษัทเครือซีเมนต์ไทยกับสาขาย่อยต่าง ๆ
     5. Exchange-to-Exchange (E2E) คือการแลกเปลี่ยนข้อมูล
     6. E-Learning คือการสอน การสอบออนไลน์


E-Commerce Business Model
          แบบจำลองทางธุรกิจ คือวิธีดำเนินการทางธุรกิจที่ช่วยสร้างรายได้ อันจะทำให้บริษัทอยู่ต่อไปได้
และยังรวมถึงกิจกรรมที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการด้วย
  - ธุรกิจที่หารายได้จากค่าสมาชิก เช่นเว็บไซท์ Jobs.DB.com , Business Online
  - ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน เช่น Pay Pal , True Money 
  - ธุรกิจค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ร้านขายหนังสือ Amazon , ร้านขายของชำ 7dream
  - ธุรกิจที่หารายได้จากโฆษณา เช่นโฆษณาบน facebook , Yahoo , Pantip.com , Kapook.com
  - บริกาiรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ เช่น MERX , Buyers.Gov , อำเภอยิ้ม , เลื่อนล้อต่อภาษี , บริการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
  - ธุรกิจตลาดประมูลออนไลน์ เช่น Egghead , Priceline
  - ธุรกิจตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น PaperExchange , FoodMarketExchange , การจำหน่ายดอกไม้ออนไลน์
  - ธุรกิจที่ใช้ E-Commerce ในการเพิ่ม Productivity เช่น ด้านการบริหาร SCM , การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ CRM , การแลกเปลี่ยนข้อมูล EDI


ข้อดีและข้อเสียของ E-Commerce


ข้อดี

1.สามารถเปิดดำเนินการได้ตลอด24 ชั่วโมง
2.สามารถดำเนินการค้าขายได้อย่างอิสระทั่วโลก
3.ใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ
4.ไม่ต้องเสียค่าเดินทางในระหว่างการดำเนินการ
5.ง่ายต่อการประชาสัมพันธ์ และยังสามารถประชาสัมพันธ์ในครั้งเดียวแต่ไปได้ทั่วโลก
6.สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ใช้บริการอินเทอร์เนตได้ง่าย
7.ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาสำหรับผู้ซื้อและผู้ขาย
8.ไม่จำเป็นต้องเปิดเป็นร้านขายสินค้าจริงๆ


ข้อเสีย

1.ต้องมีระบบการรักษาความปลอดภัยของระบบที่มีประสิทธิภาพ
2.ไม่สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ไม่ได้ใช้บริการอินเทอร์เนตได้
3.ขาดความเชื่อมั่นในเรื่องการชำระเงินผ่านทางบัตรเครดิต
4.ขาดกฎหมายรองรับในเรื่องการดำเนินการธุรกิจขายสินค้าแบบออนไลน์
5.การดำเนินการทางด้านภาษียังไม่ชัดเจน

บทที่ 3 E-business strategy



          กลยุทธ์ คืออะไร

- การกำหนดวิธีการที่เราจะตอบสนองวัตถุประสงค์ของเรา

- การจัดสรรชุดของทรัพยากรเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

- การเลือกตัวเลือกที่ต้องการกลยุทธ์ในการแข่งขันภายใน
ตลาด
 


- ให้เป็นแผนระยะยาวสำหรับการพัฒนาของ
องค์กร



          กลยุทธ์ทางธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ 

     ทิศทางและขอบเขตของกว่าในระยะยาวที่ประสบความสำเร็จในความได้เปรียบให้กับองค์กรการกำหนดค่าของทรัพยากรเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด กลยุทธ์ที่จะเชื่อมให้แบบจําลองทางธุรกิจเป็นจริงได้ทํายังไงให้การสร้างมูลค่านั้นเป็นจริงได้แล้วทํายังไงที่จะส่งมูลค่านั้นให้กับลูกค้าได้ดีที่สุดและทํายังไงให้มันแตกต่าง การทําธุรกิจด้านอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ใช่เพียงแค่การสร้างธุรกิจออนไลน์แต่เป็นการสร้างธุรกิจที่มีความแตกต่างอย่้างไรก็ตามในเรื่องนี้จะพูดถึงตัวแบบขั้นตอนกลยุทธ์หลักในการทําธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ทั้ง 4 ขั้นตอนดังนี้


- Strategic evaluation
กลยุทธ์การประเมิน


- Strategic objectives
กลยุทธ์การวางแผนวัตถุประสงค์


- Strategy definition
กลยุทธ์การกําหนดนิยาม


- Strategy implementation
กลยุทธ์การดําเนินงาน











 

 

วันอาทิตย์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

บทที่ 2 E - BUSINESS INFRASTRUCTURE (โครงสร้างพื้นฐานของธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์)






 อินเทอร์เน็ต คืออะไร


         อินเทอร์เน็ต (อังกฤษ: Internet)  หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลาย ๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า  โพรโทคอล (protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลาย ๆ ทาง อาทิ อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่าง ๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้






   อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย


          ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตในปี พ.ศ. 2530 ในลักษณะการใช้บริการ จดหมายเล็กทรอนิกส์แบบแลกเปลี่ยนถุงเมล์เป็นครั้งแรก โดยเริ่มที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ( Prince of Songkla University ) และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียหรือสถาบันเอไอที ( AIT ) ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและออสเตรเลีย ( โครงการ IDP ) ซึ่งเป็นการติดต่อเชื่อมโยงโดยสายโทรศัพท์ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2531 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ได้ยื่นขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ต Sritrang.psu.th ซึ่งนับเป็นที่อยู่อินเทอร์เน็ตแห่งแรกของประเทศไทย ต่อมาปี พ.ศ. 2534 บริษัท DEC ( Thailand ) จำกัดได้ขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตเพื่อใช้ประโยชน์ภายในของบริษัท โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ตเป็น dect.co.th โดยที่คำ “th” เป็นส่วนที่เรียกว่า โดเมน ( Domain ) ซึ่งเป็นส่วนที่แสดงโซนของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยย่อมาจากคำว่า Thailand




       ประเภทของอินเตอร์เน็ตมี 3 ประเภท ดังนี้ 












       1.อินเทอร์เน็ต (Internet) เครือข่ายสาธารณะ


        อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วโลก ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เป็นล้านๆเครื่องเชื่อมต่อเข้ากับระบบและยังขยายตัวขึ้น เรื่อย ๆ ทุกปี    อินเทอร์เน็ตมีผู้ใช้ทั่วโลกหลายร้อยล้านคน และผู้ใช้เหล่านี้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้อย่างอิสระ   โดยที่ระยะทางและเวลาไม่เป็นอุปสรรค     นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถเข้าดูข้อมูลต่าง ๆ  ที่ถูกตีพิมพ์ในอินเทอร์เน็ตได้   อินเทอร์เน็ตเชื่อมแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เข้าด้วยกันไม่ว่าจะเป็นองค์กรธุรกิจ มหาวิทยาลัย หน่วยงานของรัฐบาล หรือแม้กระทั่งแหล่งข้อมูลบุคคล องค์กรธุรกิจหลายองค์กรได้ใช้อินเทอร์เน็ตช่วยในการทำการค้า เช่น การติดต่อซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ตหรืออีคอมเมิร์ช (E-Commerce) ซึ่งเป็นอีกช่องทางหนึ่งสำหรับการทำธุรกิจที่กำลังเป็นที่นิยม     เนื่องจากมีต้นทุนที่ถูกกว่าและมีฐานลูกค้าที่ใหญ่มาก   ส่วนข้อเสียของอินเทอร์เน็ตคือ   ความปลอดภัยของข้อมูล   เนื่องจากทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลทุกอย่างที่แลกเปลี่ยนผ่านอินเทอร์เน็ต ได้
อินเทอร์เน็ตใช้โปรโตคอลที่เรียกว่า “TCP/IP (Transport Connection Protocol/Internet Protocol)” ในการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่าย ซึ่งโปรโตคอลนี้เป็นผลจากโครงการหนึ่งของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ โครงการนี้มีชื่อว่า ARPANET (Advanced Research Projects Agency Network) ในปี ค.ศ.1975 จุดประสงค์ของโครงการนี้เพื่อเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกลกัน และภายหลังจึงได้กำหนดให้เป็นโปรโตคอลมาตรฐานในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตได้กลายเป็นเครือข่ายสาธารณะ ซึ่งไม่มีผู้ใดหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่งเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง การเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตต้องเชื่อมต่อผ่านองค์กรที่เรียกว่า “ISP (Internet Service Provider)” ซึ่งจะทำหน้าที่ให้บริการในการเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต นั่นคือ ข้อมูลทุกอย่างที่ส่งผ่านเครือข่าย ทุกคนสามารถดูได้ นอกเสียจากจะมีการเข้ารหัสลับซึ่งผู้ใช้ต้องทำเอง
 



          2. อินทราเน็ต (Intranet) หรือเครือข่ายส่วนบุคคล


        ตรงกันข้ามกับอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายส่วนบุคคลที่ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต เช่น เว็บ, อีเมล, FTP เป็นต้น อินทราเน็ตใช้โปรโตคอล TCP/IP สำหรับการรับส่งข้อมูลเช่นเดียวกับอินเทอร์เน็ต ซึ่งโปรโตคอลนี้สามารถใช้ได้กับฮาร์ดแวร์หลายประเภท และสายสัญญาณหลายประเภท ฮาร์ดแวร์ที่ใช้สร้างเครือข่ายไม่ใช่ปัจจัยหลักของอินทราเน็ต แต่เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำให้อินทราเน็ตทำงานได้ อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายที่องค์กรสร้างขึ้นสำหรับให้พนักงานขององค์กรใช้ เท่านั้น การแชร์ข้อมูลจะอยู่เฉพาะในอินทราเน็ตเท่านั้น หรือถ้ามีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับโลกภายนอกหรืออินเทอร์เน็ต องค์กรนั้นสามารถที่จะกำหนดนโยบายได้ ในขณะที่การแชร์ข้อมูลอินเทอร์เน็ตนั้นยังไม่มีองค์กรใดที่สามารถควบคุมการ แลกเปลี่ยนข้อมูลได้ เมื่อเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต พนักงานบริษัทของบริษัทสามารถติดต่อสื่อสารกับโลกภายนอกเพื่อการค้นหาข้อมูล หรือทำธุรกิจต่าง ๆ การใช้โปรโตคอล TCP/IP ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าใช้เครือข่ายจากที่ห่างไกลได้ (Remote Access) เช่น จากที่บ้าน หรือในเวลาที่ต้องเดินทางเพื่อติดต่อธุรกิจ การเชื่อมต่อเข้ากับอินทราเน็ต โดยการใช้โมเด็มและสายโทรศัพท์ ก็เหมือนกับการเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต แต่แตกต่างกันที่เป็นการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายส่วนบุคคลแทนที่จะเป็น เครือข่ายสาธารณะอย่างเช่นอินเทอร์เน็ต การเชื่อมต่อกันได้ระหว่างอินทราเน็ตกับอินเทอร์เน็ตถือเป็นประโยชน์ที่ สำคัญอย่างหนึ่ง
ระบบการรักษาความปลอดภัยเป็นสิ่งที่แยกอินทราเน็ตออกจากอินเทอร์เน็ต เครือข่ายอินทราเน็ตขององค์กรจะถูกปกป้องโดยไฟร์วอลล์ (Firewall) ซึ่งอาจจะเป็นได้ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่กรองข้อมูลที่แลก เปลี่ยนกันระหว่างอินทราเน็ตและอินเทอร์เน็ตเมื่อทั้งสองระบบมีการเชื่อมต่อ กัน ดังนั้นองค์กรสามารถกำหนดนโยบายเพื่อควบคุมการเข้าใช้งานอินทราเน็ตได้
อินทราเน็ตสามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ในองค์กรได้หลายอย่าง ความง่ายในการตีพิมพ์บนเว็บทำให้เป็นที่นิยมในการประกาศข่าวสารขององค์กร เช่น ข่าวภายในองค์กร กฎ ระเบียบ และมาตรฐาน การปฏิบัติงานต่าง ๆ เป็นต้น หรือแม้กระทั่งการเข้าถึงฐานข้อมูลขององค์กรก็ง่ายเช่นกัน ผู้ใช้สามารถทำงานร่วมกันได้ง่าย และมีประสิทธิภาพมากขึ้น



       
3.เอ็กส์ทราเน็ต (Extranet) หรือเครือข่ายร่วม


        เอ็กส์ทราเน็ต (Extranet) เป็นเครือข่ายกึ่งอินเทอร์เน็ตกึ่งอินทราเน็ต กล่าวคือ เอ็กส์ทราเน็ตคือเครือข่ายที่เชื่อมต่อระหว่างอินทราเน็ตของสององค์กร ดังนั้นจะมีบางส่วนของเครือข่ายที่เป็นเจ้าของร่วมกันระหว่างสององค์กรหรือ บริษัท การสร้างอินทราเน็ตจะไม่จำกัดด้วยเทคโนโลยี แต่จะยากตรงนโยบายที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่ทั้งสอง องค์กรจะต้องตกลงกัน เช่น องค์กรหนึ่งอาจจะอนุญาตให้ผู้ใช้ของอีกองค์กรหนึ่งล็อกอินเข้าระบบอินทรา เน็ตของตัวเองหรือไม่ เป็นต้น การสร้างเอ็กส์ทราเน็ตจะเน้นที่ระบบการรักษาความปลอดภัยข้อมูล รวมถึงการติดตั้งไฟร์วอลล์หรือระหว่างอินทราเน็ตและการเข้ารหัสข้อมูลและ สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ นโยบายการรักษาความปลอดภัยข้อมูลและการบังคับใช้

















ความสัมพันธ์ ระหว่าง อินเตอร์เน็ต  อินทราเน็ต และ เอ็กซ์ทราเน็ต 










       Firewall (ไฟร์วอลล์ หรือ กำแพงไฟ)







       ไฟร์วอลล์  คือ ซอฟต์แวร์ หรือฮาร์ดแวร์ในระบบเครื่อข่าย ซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ในระบบเครือข่าย หน้าที่ของไฟร์วอลล์คือเป็นตัวกรองข้อมูลสื่อสาร โดยการกำหนดกฎและระเบียบมาบังคับใช้โดยเฉพาะเรื่องของการดูแลระบบเครือข่าย โดยความผิดพลาดของการปรับแต่งอาจส่งผลทำให้ไฟล์วอลล์มีช่องโหว่ และนำไปสู่สาเหตุของการโจรกรรมข้อมูลคอมพิวเตอร์ได้





       หลักการทำงานของไฟร์วอลล์

       ไฟร์วอลล์ จะคอยตรวจสอบข้อมูลต่างๆ ระหว่างเครือข่าย หรือ ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ ซึ่งคอยป้องกันการโจมตี สแปม และผู้บุกรุก ต่างๆ ที่ไม่หวังดีต่อระบบ
ไฟร์วอลล์ จะเปรียบเสมือนยามเฝ้าประตู ที่คอยตรวจสอบผู้เข้าออกต่างๆ ในสถานที่นั้นๆ




       สิทธิในการเข้าถึงข้อมูล

       ไฟร์วอลล์ ในองค์กรต่างๆ นั้นได้มีการตั้งสิทธ์ ในการตรวจสอบและกลั่นกรองข้อมูล หลักๆ 2 ประเภท คือ

1. การตรวจสอบข้อมูลจาก อินเตอร์เน็ต ซึ่งนับเป็นเขตที่เชื่อถือไม่ได้ ต้องมีการตรวจสอบและกลั่นกรองอย่างถี่ถ้วน

2. การตรวจสอบข้อมูลจาก อินทราเน็ต ซึ่งนับเป็นเขตที่เชื่อถือได้ การตรวจสอบข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ในอินทราเน็ตนั้น ก็จะเบาบาง และ ค่อนข้างหละหลวม





รายชื่อโปรแกรมไฟร์วอลล์ที่เป็นฟรีแวร์ ที่นิยมบนไมโครซอฟท์วินโดวส์


  • Windows Firewall
  • ZoneAlarm
  • Tiny Personal Firewall
  • Sygate Personal Firewall (ปัจจุบันได้ถูกบริษัท Symantec นำไปพัฒนาต่อ)
  • Filseclab Personal Firewall
  • Comodo Firewall Pro
  • Pc Tools Firewall Plus
  • Agitum Outpost Firewall
  • Ashampoo Firewall
  • Lavasoft Personal Firewall
  • Sunbelt Personal Firewall
  • Webroot Desktop Firewall
  • Sunbelt Kerio Personal Firewall
  • Jetico Personal Firewall
  • SoftPerfect Personal Firewall
  • Dynamic Security Agent
  • Ghostwall Firewall
  • R-Firewall



       วิวัฒนาการของ WEB


       Web1.0 ยุคแห่งการเริ่มต้น

       ในยุคแรกเริ่มของเว็บไซต์ที่อินเตอร์เน็ตยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก มีเพียงกลุ่มคนเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ใช้งานเมื่อเทียบกับอัตราส่วนการใช้ งานอินเตอร์เน็ตในปัจจุบัน อาจจะมีสาเหตุมาจาก แหล่งเรียนรู้ที่ยังไม่เปิดกว้าง อุปกรณ์ในการใช้งานอินเตอร์เน็ตอย่างเครื่องคอมพิวเตอร์และโมเด็มยังมีราคา แพง ผู้ให้บริการอินเตอร์เนตยังมีจำนวนน้อยและค่าใช้จ่ายในการใช้งานมีราคาสูง รวมไปถึงความเร็วในการเชื่อมต่อและความเร็วในการใช้งานยังมีจำกัด ทำให้เวบไซต์ในยุคนั้นมีลักษณะการแสดงเนื้อหาเป็นข้อความและภาพนิ่งเป็นส่วน ใหญ่
“Read-Only” เป็นการกล่าวถึงลักษณะของการแสดงเนื้อหาและการโต้ตอบกันระหว่างเจ้าของ เวบไซต์กับผู้เข้าชมเวบไซต์ในยุค Web 1.0 ซึ่งมีลักษณะเป็นการตอบโต้ทางเดียวคือ เจ้าของเวบไซต์มีการผลิตเนื้อหาของเว็บไซต์ และผู้ที่ต้องการข้อมูลจะเข้าไปอ่านจากเวบไซต์หรือทำการค้นหาจาก Search Engine ซึ่งเป็นเครื่องมือหรือโปรแกรมในการค้นหาเว็บต่างๆเป็นส่วนใหญ่ ผู้เข้าชมเวบไซต์ส่วนใหญ่สามารถทำได้เพียงรับข้อมูลจากเนื้อหาของเวบไซต์แต่ ไม่มีโอกาสในการแสดงความคิดเห็นหรือมีการโต้ตอบกันระหว่างเจ้าของเวบไซต์กับ ผู้เข้าชมเวบไซต์ ถึงแม้ว่าในการพัฒนาต่อมาจะมีการนำกระดานข่าว (webboard) มาใช้เป็นแหล่งที่ให้ผู้เข้าชมเวบไซต์สามารถแสดงความคิดเห็นหรือแลกเปลี่ยน ข้อมูลข่าวสารกันได้ แต่กระดานข่าวยังไม่ได้มีการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบเพื่อรองรับการเข้า ชมจากผู้ชมเวบไซต์คนอื่น รวมไปถึงไม่มีการสนับสนุนหรือตัวช่วยในการค้นหาข้อมูลสำหรับผู้เข้าชมเวบไซ ต์ ซึ่งข้อจำกัดต่างๆส่งผลให้มีการพัฒนาเวบไซต์เพื่ออำนวยความสะดวกต่อผู้เข้า ชมมากยิ่งขึ้นอันเป็นที่มาของยุค Web 2.0
ตัวอย่างลักษณะของเวบไซต์ในยุค Web 1.0 เช่น การสร้างเวบไซต์บน GeoCities ซึ่งเป็นผู้ให้บริการฟรีโฮสติ้ง ซึ่งผู้เขียนต้องมีความรู้พื้นฐานในการทำเวบไซต์ และยากที่จะแบ่งปันเนื้อหาออกไป




       Web2.0 ยุคแห่งการพัฒนาการและการเชื่อมโยง

       “มนุษย์เป็นสัตว์สังคม (Human being is social animal)” คำกล่าวของอริสโตเติ้ล นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ เป็นการอธิบายถึงการใช้ชีวิตของมนุษย์ที่จะต้องมีการพึ่งพาอาศัยกัน ทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อความอยู่รอดและเพื่อสร้างความสุข ความมั่นคงให้กับชีวิต สังคมจึงเป็นแหล่งรวมศูนย์ทางความคิดที่มนุษย์ได้สร้างขึ้นมา เพื่อแสวงหาคำตอบทุกๆอย่างให้กับตนเอง ซึ่งเหตุผลแห่งการที่มนุษย์เป็นสัตว์สังคม อีกทั้งยังมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง ในการทำสิ่งต่างๆ เพื่อให้เกิดความสุขและสะดวกสบายใจชีวิต  จึงทำให้มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีการพัฒนาและค้นหาหนทางต่างๆเพื่อตอบสนอง ความต้องการของตน ในโลกของเทคโนโลยีเวิลด์ไวด์เว็บ และการออกแบบเว็บไซต์ก็เช่นกัน การที่เวบไซต์แบบเดิมนั้นไม่สามารถตอบสนองความต้องการในการแสดงความคิดเห็น การโต้ตอบ หรือการเชื่องโยงและการสร้างเครือข่ายสังคม จึงทำให้มีการพัฒนาและปฏิวัติรูปแบบของเวบไซต์และเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อให้เกิดการตอบสนองต่อความต้องการมากขึ้น
ในยุคของ Web 2.0 ที่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และองค์ประกอบต่างๆ ที่ต้องใช้ในการเล่นอินเตอร์เนตมีราคาถูกลง มีการส่งเสริมและให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานคอมพิวเตอร์เพิ่มมากขึ้น ทำให้จำนวนผู้ใช้งานอินเตอร์เนตเพิ่มมากขึ้นเป็นจำนวนทวีคูณเมื่อเทียบกับ ยุคแรกๆ ที่อินเตอร์เนตยังไม่มีบทบาทต่อชีวิตประจำวันมากนัก ซึ่งส่งผลให้ความต้องการในการใช้งานส่วนต่างๆ เพิ่มมากขึ้น จึงทำให้มีต้องมีการพัฒนาเวบไซต์เพื่อให้ตอบสนองความต้องการและรอบรับการใช้ งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
“Read – Write” เป็นการกล่าวถึงลักษณะของการแสดงเนื้อหาและการโต้ตอบกันระหว่างเจ้าของ เวบไซต์กับผู้เข้าชมเวบไซต์ในยุค Web 2.0 ซึ่งมีลักษณะเป็นการที่มีการแบ่งปันความรู้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน มากกว่าที่จะเป็นเพียงการนำเสนอข้อมูลผ่านเวบไซต์เพียงอย่างเดียว โดยผู้เข้าชมสามารถทำการแสดงความคิดเห็น หรือทำการสร้างเนื้อหา โดยไม่ต้องเป็นหนึ่งในทีมสร้างเนื้อหาหรือเจ้าของเวบไซต์ได้ อีกทั้งผู้เข้าชมยังสามารถกำหนดคุณค่าของเวบไซต์หรือบทความผ่านกระบวณการ ต่างๆ เช่นการให้คะแนนเนื้อหา การแนะนำบทความให้กับผู้อื่นเป็นต้น
รูปแบบหรือลักษณะโดยทั่วไปของเวบไซต์ในยุค Web 2.0 นั้นมีการพัฒนาให้มีการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้ได้ง่ายขึ้นและมีความหลากหลายใน การตอบสนองความต้องการของผู้ใช้มากขึ้น เช่นผู้ใช้สามารถสร้างเนื้อหาได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องมีความรู้ทางเทคนิค , สามารถเผยแพร่ความรู้และประสบการณ์ของตนได้อย่างง่ายดาย, สามารถแบ่งปันข้อมูลไปยังเครือข่ายออนไลน์, สามารถแสดงความคิดเห็นและทัศนคติทำให้อย่างตรงไปตรงมาและเปิดกว้างเป็นต้น สิ่งต่างๆเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า Web 2.0 มีส่วนช่วยในการสนับสนุนการสร้างสังคมที่มีความเกื้อหนุนกันทางด้านความรู้ และการรวมกลุ่มของเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ที่เกิดจากการคิดร่วมกันโดยไม่ได้ นัดหมาย




       Web3.0 ยุคแห่งโลกอนาคต
 
       แนวโน้มในส่วนของ Web 3.0 ที่มีการกล่างถึงกันมากขึ้นในวงการไอทีนั้นยังไม่มีรายละเอียดที่ชัดเจนมาก นัก เนื่องจากยังไม่มีการนิยามและตัวอย่างของเวบไซต์ออกมาให้เห็นกันอย่างชัดเจน เป็นเพียงแนวโน้มของการพัฒนาที่กลุ่มคนบางกลุ่มที่ต้องการพัฒนาเวบไซต์ใน อนาคตให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้มากขึ้นเท่านั้น
แนวคิดของ Web 3.0 นั้นเป็นเหมือนกันนำ Web 2.0 มาทำการพัฒนาและต่อยอด โดยมีการปรับปรุงและแก้ไข Web 2.0 ให้ดีขึ้น เนื่องจากในยุค Web 2.0 นั้นผู้ใช้มีการสร้างเนื้อหาได้อย่างสะดวกและง่ายดายทำให้ มีจำนวนเนื้อหาจำนวนมากไม่ว่าจะเป็น บล็อค, รูปภาพ, ไฟล์มัลติมีเดียต่างๆ ซึ่งส่งผลต่อมาก็คือ ปัญหาในการค้นหาและเข้าถึงข้อมูล จึงมีความจำเป็นที่จะต้องหาแนวคิดหรือวิธีการในการจัดการข้อมูลให้เป็นระบบ และมีการเชื่อมโยงถึงกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหาและเข้าถึง โดยแนวคิดดังกล่าวนั้นเป็นที่มาของการพัฒนาไปสู่ยุค Web 3.0 นั่นเอง



    Web 4.0

1) More access to data (สามารถเข้าถึง data ได้มากขึ้น)
1.1 Access to more products (เข้าถึงผลิตภัณฑ์ได้หลายตัวมากขึ้น)
อย่างเช่น เสื้อผ้า เครื่องประดับ อุปกรณ์การกีฬา
1.2 Accesss to more images (เข้าถึงรูปภาพได้มากขึ้น)
1.3 All customer reviews (สามารถดึงคำติชมของลูกค้าทุกคน)
1.4 More product attributes (สามารถเข้าถึงข้อมูลของสินค้ามากขึ้น)

2) Extended cabilities (มีความสามารถมากขึ้น)
2.1 Extended Search functionality (ค้นหาข้อมูลด้วยรายละเอียดมากขึ้น)
2.2 Save for Later remote shopping cart (เลือกสินค้าโดยที่ไม่ใส่ตะกร้าได้)
2.3 Wish list search (สามารถค้นหาสินค้าในรายการที่ผู้อื่นต้องการ)

3) Improved usablity
3.1 More documentation and code samples (มีคู่มือการใช้และโปรแกรมตัวอย่างมากขึ้น)
3.2 Localized error messages. New error messages include very specific information about errors in your requests and provide troubleshooting guideliens (error messages มีข้อมูลมากขึ้นที่บอกถึงความผิดพลาดและช่วยบอกถึงวิธีแก้)
3.3 Built-in help funcitonality ทำให้ผู้พัฒนาสามารถเข้าถึง API ได้ง่าย ช่วยในการเรียนรู้และการนำไปใช้


บทที่ 1 Introduction to E-Business and E- Commerce











ปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี  อาทิ เช่น internet WWW  และ การสื่อสารแบบไร้ สาย ใน
องค์กรธุรกิจมานานมากกว่า  15  ปีนับตั้งแต่มีการพัฒนาเว็บไซต์ขึ้นครั้งแรกโดย Sir Tim Berners-Lee

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1991 ซึ่งการปรับใช้ เทคโนโลยีเหล่านี้ ได้สร้างโอกาส มากมายสำหรับการสร้างนวัตกรรมทาง   e-Busines




 ความแตกต่างระหว่าง e-commerce กับ e-business 

        พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ ธุรกรรมทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเชิงพาณิชย์ทั้งในระดับองค์กร และส่วนบุคคลบนพื้นฐานของการประมวลและการส่งข้อมูลดิจิทัลที่มีทั้ง ข้อความ เสียง และภาพ (OECD,1997)

        พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การทำธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับการประมวล และ การส่งข้ อมูลที่มีข้อความ เสียง และภาพ ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์รวมถึงการขายสินค้า และบริการด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ , การขนส่งผลิตภัณฑ์ที่เป็นเนื้อหาข้อมูลแบบ ดิจิทัลในระบบออนไลน์ , การโอนเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ , การจำหน่วยหุ้นทางอิเล็กทรอนิกส์ , การประมูล, การออกแบบทางวิศวกรรมร่วมกัน , การจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ , การขายตรง , การให้บริการหลังการขาย ทั้งนี้ใช้กับสินค้า ( เช่น สิ นค้าบริโภค , อุปกรณ์ ทาง การแพทย์ ) และบริการ (เช่น บริการขายข้อมูล, บริการด้านการเงิน, บริการด้านกฎหมาย) รวมทั้งกิจการทั่วไป ( เช่น สาธารณสุ ข , การศึ กษา, ศู นย์ การค้ าเสมื อน ( Virtual Mall) (European union,1997)

       พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  คือ การดำเนินธุรกิจโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์
( ECRC Thailand,1999)

       พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  คือ การผลิตการกระจายการตลาดการขายหรือการขนส่งผลิตภัณฑ์ และบริการโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (WTO,1998)

       พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ ขบวนการที่ใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อทำธุรกิจที่จะบรรลุ
เป้าหมายขององค์กรพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ใช้เทคโนโลยีประเภทต่าง ๆ และครอบคลุมรูปแบบทางการเงินทั้งหลาย เช่น ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ , การค้ าอิ เล็กทรอนิกส์ , อีดีไอหรือ
การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ,  ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ,  โทรสาร ,  คะตะล้อก
อิเล็กทรอนิกส์ ,  การประชุมทางไกลและรูปแบบต่าง ๆ ที่เป็นข้อมูลระหว่างองค์กร
(ESCAP,1998)



 สรุปได้ว่า

       อิเล็กทรอนิกส์  เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการการโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์  โทรทัศน์  วิทยุ  หรือแม้แต่อินเตอร์เน็ตเป็นต้นโดย มี วัตถุประสงค์ เพื่อลดค่าใช้ จ่าย และเพิ่มประสิ ทธิ ภาพขององค์ กร โดยการลดบทบาทองค์ ประกอบทางธุรกิจลง เช่น  ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้าห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้าพนักงานต้อนรับลูกค้า เป็นต้น จึงลดข้อจำกัดของระยะทาง และเวลา
ลงได้