วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

บทที่ 8 e - Procurement



ระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (e – procurement)
 
          เป็นระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการให้บริการที่เกี่ยวข้องในกิจกรรมการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ  เช่น  การตกลงราคา การสอบราคา  การประกวดราคา  และการจัดซื้อรวมแบบออนไลน์  รวมถึงการลง
ทะเบียนบริษัทผู้ค้า  การทำe – Catalog  และการทำงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการจัดซื้อที่เป็น
Web Based Application  เพื่อทำให้ระบบการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
กล่าวคือ  ใช้ระยะเวลาจัดหาพัสดุน้อยลง  และได้พัสดุที่มีคุณภาพในราคาที่เหมาะสม  รวมทั้งเพิ่มความ
โปร่งใสของกระบวนการจัดหาและสามารถติดตามตรวจสอบกระบวนการทำงานได้



e-Procurement หมายถึง การทำงานในแต่ละขั้นตอนของระบบ ข้อมูลจะถูกจัดส่งและจัดเก็บไปในรูป
แบบของข้ อมู ลอิ เล็ กทรอนิ กส์ซึ่งข้ อมู ลเหล่านี้ พร้ อมที่จะถู กนำไปวิ เคราะห์ต่อไป โ ดยข้ อมู ลครอบคลุม
ตั้งแต่การค้นหาและเลือกสินค้าจากe-Catalog การออกใบขอสั่งซื้อ  การรับและการอนุมัติใบขอสั่งซื้อ
การออกใบสั่งซื้อ การติดตามการสั่งซื้อ การตรวจรับสินค้าและการชาระเงิน



วัตถุประสงค์ในการพัฒนาระบบe-Procurement ในประเทศไทย

 •ความมีประสิทธิภาพ(Efficiency) จากการจัดซื้อสินค้าหรือบริการได้ตรง กับความต้องการ
 ของผู้ใช้
 •ความพร้ อมรั บผิ ด(Accountability)  และการสร้ างระบบธรรมาภิ บาล(Good
 Governance) โ ดยเจ้า หน้าที่ผู้รับผิดชอบระบบจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐควรต้องมี ความ
 พร้อมรับผิดต่อการตัดสินใจของตน
 •ความโปร่งใส(Transparency) โ ดยกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างต้องเป็นกระบวนการที่เปิด
 เผยต่อสาธารณะ
 •ความคุ้มค่า(Value for Money) เพื่อลดปัญหาการที่หน่วยงานรัฐมักซื้อสินค้าหรือบริการ
 ในราคาที่แพงกว่าของภาคเอกชน



ความมุ่งหมาย ของ e-Procurement ในประเทศไทย

•ลดการรั่วไหลในระบบการจัดซื้อจัดจ้าง  ซึ่งจะนำไปสู่การลดค่าใช้จ่ายของ  ภาครัฐ  และส่ง
เสริมความโปร่งใสและธรรมาภิบาล ในการบริหารราชการแผ่นดิน

•ช่วยภาครั ฐในการพั ฒนาระบบการจั ดซื้ อจั ดจ้ างที่มุ่งไปสู ่ระบบที่มี มู ลค่าเพิ่มมากขึ้ นโดยลด
ทรัพยากรที่ต้องใช้ไปกับการจัดซื้อจัดจ้าง



ประโยชน์ของการพัฒนาระบบ e-Procurement

•เอกสารการยื่นประกวดราคา คำชี้แจงและคำอธิบาย และข้อมูลการตัดสิน ผลการประกวดราคาของโครงการต่าง ๆ ที่ผ่านการคัดเลือก
ไปแล้วมีความชัดเจนและครบถ้วนสมบูรณ์
•การกระจายข้อมูล(Distribution) ไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องฝ่ายต่าง ๆโดยเฉพาะ ผู้ค้าที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการดังกล่าวซึ่งอาจใช้วิธีการ
ต่าง ๆ เช่น การส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องไปยังผู้ค้าโดยไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์(Electronic Mail) ให้มีความรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์
•การยื่นประกวดราคาผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Bid Submission)  ซึ่งต้องมีการออกแบบตู้รับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
(Electronic Vault) ที่มีความปลอดภัย ไม่สามารถเปิดได้ก่อนเวลาที่กำหนด อันเป็นกระบวนการที่โปร่งใสและตรวจสอบได้ ทุกขั้นตอน
•การเพิ่มความสามารถของระบบให้สูงขึ้นเพื่อให้เกิดบริการมูลค่าเพิ่ม(Value Added Service) ต่าง ๆ เช่น บริการสนับสนุนผู้ค้า
(Supplier Support System) ต่าง ๆ เช่นระบบสนับสนุนการจัดทำเอกสารประกวดราคา ระบบการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ การบริหารห่วงโซ่อุปทาน(Supply Chain Management) ที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้าง
•การเพิ่มความสามารถของระบบให้สูงขึ้น เพื่อให้เกิดบริการมูลค่าเพิ่ม(Value Added Service) ต่าง ๆ เช่น บริการสนับสนุนผู้ค้า
(Supplier Support System) ต่าง ๆ เช่น ระบบสนับสนุนการ จัดทำเอกสารประกวดราคา ระบบการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ การ
บริหารห่วงโซ่อุปทาน(Supply Chain Management) ที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้าง
การพัฒนาระบบe-Catalog จะมีผลให้สินค้าและบริการในอนาคต ที่ส่วนราชการจัดหามีคุณภาพที่ดีในราคาที่เหมาะสมมากยิ่งขึ้น รวมทั้ง มีทางเลือกในการพิจารณาจัดหาพัสดุได้มากยิ่งขึ้น





ขั้นตอนของระบบ e-Procurement

•ค้นหาสินค้า/บริการที่จะซื้อผ่านE-Catalog
•เลือกหมวดสินค้าที่ต้องการจะซื้อผ่านE-Shopping List
•จัดประกาศเชิญชวนผ่านWeb-Site
•ผู้ขายเสนอคุณสมบัติของสินค้าทางอินเตอร์เน็ต(E-RFP)
•ผู้ซื้อตรวจสอบราคากลาง(E-RFQ) และTrack Record ของผู้ขาย
•ประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์(E-Auction)
•ประกาศผล ผู้ชนะและส่งมอบ/ตรวจรับพัสดุ
•จ่ายเงินตรงด้วยระบบ E-Payment



ระบบ e–Catalog
 
         เป็นมาตรฐานระบบCatalog ที่รวบรวมรายละเอียดของสินค้าและบริการ ซึ่งอำนวยความสะดวกให้ผู้ค้า/ผู้รับจ้าง(Supplies) ที่มีคุณสมบัติทำธุรกรรมสามารถเข้ามา ทำการแจ้งและปรับปรุงรายการสินค้า/บริการของตนเองได้ การจัดการCatalog ของผู้ค้า/ผู้รับจ้าง จะดำเนินการผ่านระบบมาตรฐานกลางโดยสามารถLogin เข้าสู่ระบบการจัดซื้อจัดจ้างทางอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐเพื่อ
ปรับปรุงรายการสินค้า/บริการเพื่อให้ส่วนราชการสามารถเข้าสู่ระบบเพื่อค้นหาข้อมูลและพิจารณาสั่งซื้อจากสินค้า/
บริการจากe-Catalog ได้ตลอดเวลา




e-Market Place

          ตลาดกลางรวบรวมสินค้าและร้านค้าหรือบริษัท จำนวนมาก เพื่อเป็นสื่อกลางในการซื้อE-Marketplace -ขายสินค้าระหว่าE-Marketplace




ข้อดีของe-procurement ในด้านของผู้ขาย

•เพิ่มปริมาณการขาย
•ขยายตลาด และได้รับลูกค้ากลุ่มใหม่
•- ดำเนินการบริหารการขาย และกิจกรรมทางการตลาดในต้นทุนต่ำ
•- เวลาของกระบวนการสั้นลง
•- พัฒนาให้พนักงานมีประสิทธิภาพดีขึ้น
•- กระบวนการประมูลเป็นไปในทิศทางเดียวกัน




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น