วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

บทที่ 7 Electronic Supply Chain Management







           กระบวนการ Supply Chain Management หรือ SCM เป็นกระบวนการของการบริหารทุกขั้นตอน นับตั้งแต่ การนำเข้าวัตถุดิบสู่กระบวนการผลิต กระบวนการสั่งซื้อ จนกระทั่งส่งสินค้าถึงมือลูกค้าให้มีความต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมกับสร้างระบบให้เกิดการไหลเวียนของข้อมูลที่ทำให้เกิดกระบวนการทำงาน ของแต่ละหน่วยงานส่งผ่านไปทั่วทั้งองค์การ การไหลเวียนของข้อมูลยังรวมไปถึงลูกค้า และผู้จัดส่งวัตถุดิบด้วย


กระบวน การ Supply Chain Management มีส่วนสำคัญที่ช่วยให้องค์การยกระดับความสามารถในการบริหาร เช่น การลดสินค้าคงคลัง การเพิ่มผลิตภาพหรือการลดความสูญเปล่าในกระบวนการทำงาน ส่งเสริมความเติบโตของธุรกิจ เช่น การเพิ่มโอกาสในการออกสินค้าใหม่ให้เร็วขึ้น การเปิดตลาดใหม่ ๆ การสร้างความพอใจแก่ลูกค้ามากขึ้น ส่งเสริมความยั่งยืนของธุรกิจ เช่น การลดต้นทุนธุรกิจ การบริหารเงินทุนหมุนเวียน เป็นต้น

 
Supply Chain Management  (SCM)  คือ กระบวนการโดยรวมของการไหลของวัสดุ สินค้า ตลอดจนข้อมูล และธุรกรรมต่าง ๆ ผ่านองค์การที่เป็นผู้ส่งมอบ ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย ไปจนถึงลูกค้าหรือผู้บริโภคโดยที่องค์การต่าง ๆ เหล่านี้มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจต่อกัน
Supply Chain Management 
          ระบบที่จัดการการบริหารและเชื่อมโยงเครือข่ายตั้งแต่ suppliers, manufacturers, distributors  เพื่อส่งมอบสินค้าหรือบริการให้ลูกค้าโดยมีการเชื่อมโยงระบบข้อมูลวัตถุดิบสินค้าและบริการเงินทุนรวมถึงการส่งมอบเข้าด้วยกันเพื่อให้การส่งมอบเป็นไปอย่างมี ประสิทธิ ภาพและสามารถส่งมอบได้ตรงตามเวลาและความต้องการ 








 ประโยชน์ของการทํา SCM

1. การเคลื่อนไหลของวัตถุดิบและสารสนเทศเป็นไปอย่างราบรื่น
2. ปรับปรุงระดับของสินค้าคงเหลือ
3. เพิ่มความเร็วได้มากขึ้ น
4. ขจัดความสิ้นเปลืองหรือความสูญเปล่าต่างๆ ในกระบวนการทางธุรกิจให้หมดไปได้
5. ลดต้นทุนในกิจกรรมต่างๆ ได้
6. ปรับปรุงการบริการลูกค้า





การบริหารจัดการซัพพลายเชน

1. ศักยภาพในการประสานระบบการจัดการระหว่างกลุ่ม  suppliers (Supply-management interface capabilities)  
           เพื่อให้ระบบปฏิบัติการโดยรวมมีต้นทุนต่ำที่สุดมีระบบโลจิสติกส์ในการส่งผ่านวัตถุดิบผลิตและส่งมอบสินค้าที่มีประสิทธิภาพและสามารถใช้ประสิทธิภาพของระบบโลจิสติกส์ในการแข่งขันเชิงรุกเพื่อสร้างสรรค์ระบบการส่งมอบสินค้าที่รวดเร็ว ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้มากขึ้น
2 .  ศั กยภาพในการประสานระบบการจัดการให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า
(Demand-management interface capabilities)
          เป็นระบบการบริหารจัดการเพื่อการให้บริการที่มีคุณภาพและการสร้างความพึ่งพอใจให้กับลูกค้า ทั้งก่อนระหว่างและภายหลังการขายเพื่อสร้างความได้เปรียบเพิ่มขึ้นในเชิงการแข่งขันคุณภาพโลจิสติกส์ที่ต้องการ คือ ความรวดเร็วการมีสินค้าพร้อมจำหน่ายเมื่อลูกค้าต้องการการส่งมอบสินค้ าที่สมบูรณ์สอดคล้องตามความต้องการของลูกค้าและการมีระบบสื่อสารที่ลูกค้าสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องหรือสอบถามและร้องเรียนกับทางบริษัทได้สะดวกศักยภาพในการบริการยังหมายถึงความสามารถในการให้บริการที่ยืดหยุ่นมากขึ้นในแง่ของการเปลี่ยนแปลงค่าสั่งซื้อในเรื่องของปริมาณ สถานที่ ชนิดได้ในระยะเวลากระชั้นมากขึ้นตลอดจนความสามารถในการผลิตและส่งมอบสินค้าในปริมาณมากด้วยความรวดเร็วได้เมื่อเกิดความต้องการสินค้าแบบไม่คาดหมายขึ้น




3. ศักยภาพในการประสานระบบการจัดการสารสนเทศ (Information management capabilities)
ระบบสื่อสารระหว่างองค์กรในซัพพลายเชนมีความสำคัญอย่างยิ่งก่อนที่บริษัทข้ามชาติ จะเริ่มต้นประกอบการในประเทศต่างๆ จะต้องมีการวางโครงสร้างพื้นฐานทาง  IT พิจารณาวางแผนกับปัญหาในเรื่องการประสานข้อมูลต่างๆ ทั้งในระบบองค์ กรและระหว่างองค์กรโดยพัฒนาร่วมกันไปพร้อมๆ กับการวางกลยุทธ์ ระบบสื่อสารที่ดีทำให้เกิดความรวดเร็วและประหยัดต้นทุนในการดำเนินงานได้มากเมื่อเริ่มต้นประกอบการแล้วจึงมักได้เปรีบคู่แข่งในท้องถิ่นเสมอประเด็นที่ต้องพิจารณาในการพัฒนาระบบการสื่อสารได้ แก่   ระดับเทคโนโลยี  เช่น hardware, software  การออกแบบและระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระดับการใช้ประโยชน์ในข้อมูลร่วมกันข้อมูลในระดับปฏิบัติการข้อมูลด้านยุทธ์ ศาสตร์
ข้อมูลทางการเงินหรือข้อมูลในระดับเทคนิคและความสามารถในการเชื่อมต่อของระบบ  เช่น ความรวดเร็วในการส่งผ่านข้อมูลความรวดเร็วในการดำเนินการเมื่อได้รับข้อมูล และ การจัดวางรูปแบบข้อมูลที่สามารถนำไปใช้งานต่อเนื่องได้ทันที



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น