วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

บทที่ 4 E-COMMERCE



ความหมายของ E - Commerce

               ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Business) คือ กระบวนการดำเนินธุรกิจโดยอาศัยเทคโนโลยีเครือข่ายที่เรียกว่า องค์การเครือข่ายร่วม (Internetworked Network) ไม่ว่าจะเป็นการพาณิชย์เล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) การติดต่อสื่อสารและการทำงานร่วมกัน หรือ แม้แต่ระบบธุรกิจภายในองค์กร







การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์(ELECTRONIC COMMERCE)
 
          พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การทำธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับการประมวล และการ
ส่งข้อมูลที่มีข้อความ เสียง และภาพ ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการขายสินค้าและบริการด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์,  การขนส่งผลิตภัณฑ์ที่เป็นเนื้อหาข้อมูลแบบดิจิทัลในระบบออนไลน์,  การโอนเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์,  การจำหน่วยหุ้นทางอิเล็กทรอนิกส์,  การประมูล, การออกแบบทางวิศวกรรมร่วมกัน, การจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ, การขายตรง, การให้บริการหลังการขาย ทั้งนี้ใช้กับสินค้า(เช่น สินค้าบริโภค, อุปกรณ์ทางการแพทย์) และบริการ(เช่นบริการขายข้อมูล,  บริการด้านการเงิน,  บริการด้าน  กฎหมาย)  รวมทั้งกิจการทั่วไป(เช่น สาธารณสุข, การศึกษา, ศูนย์การค้าเสมือน )




การประยุกต์ใช้ (E-commerce Application)

- การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (E-Retailing)
- การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Auctions) 
- การบริการอิเล็กทรอนิกส์(E-Service)
- รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government)
- การพาณิชย์ผ่านระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่
   (M-Commerce : Mobile Commerce)



โครงสร้างพื้นฐาน (E-Commerce Infrastructure)

          องค์ประกอบหลักสำคัญด้านเทคโนโลยีพื้นฐาน ที่จะนำมาใช้เพื่อการพัฒนาระบบ
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยแบ่งออกเป็น4 ส่วนได้แก่
- ระบบเครือข่าย(Network)
- ช่องทางการติดต่อสื่อสาร(Chanel Of Communication)
- การจัดรูปแบบและการเผยแพร่เนื้อหา(Format & Content Publishing)
- การรักษาความปลอดภัย (Security)



การสนับสนุน (E-Commerce Supporting)

          ส่วนของการสนั บสนุนจะทำหน้าที่ช่วยเหลือและสนับสนุนส่วนของการประยุกต์
ใช้งานให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเปรียบเสมือนเสาหลักของบ้านที่ทำหน้าที่ค้ำจุนให้หลังคาบ้านอย่างไรก็ตามเสาบ้านก็ต้องอาศัยพื้นบานในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานเพื่อที่จะยืนหยัดอยู่ได้อย่างมั่นคงต่อไป สำหรับส่วนสนับสนุนของE-Commerce มีองค์ประกอบ 5 ส่วนด้วยกันดังต่อไปนี้

1. การพัฒนาระบบงาน E-Commerce Application Development
2. การวางแผนกลยุทธ์ E-Commerce Strategy
3. กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ E-Commerce Law
4. การจดทะเบียนโดเมนเนม Domain Name Registration
5. การโปรโมทเว็บไซต์ Website Promotion




The Dimensions of E-Commerce





 Physical Product คือสินค้าที่จับต้องได้ เช่นคอมพิวเตอร์หรือสิ่งที่เราสัมผัสได้ กับสินค้าที่จับต้องไม่ได้

เช่น การบริการ , software ต่างๆ 

Physical Agent คือการขายสินค้าผ่านหน้าร้านแบบเดิม เช่น Big C , Tesco Lotus , Robinson
Digital Agent คือเปิดหน้าร้านที่อยู่บนโลกออนไลน์
Physical Process คือกระบวนการในการจัดการบริหารที่เป็นแบบเดิม
Digital Process คือนำอิเล็กทรอนิกส์มาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการ
Partial Electronic Commerce Areas คือบางส่วนที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ ยกเว้นที่เป็น Physical
Pure Electronic Commerce คือระบบทุกอย่างออนไลน์บนอินเตอร์เน็ททั้งหมด

ประเภทของE-Commerce


     กลุ่มธุรกิจที่ค้ากำไร (Profits Organization)
     1.Business-to-Business (B2B) คือการทำธุรกิจกับธุรกิจด้วยกันเอง
     2. Business-to-Customer (B2C) คือการทำธุรกรรม ระหว่างธุรกิจกับลูกค้า
     3. Business-to-Business-to-Customer (B2B2C) คือการทำธุรกรรม ระหว่างธุรกิจกับธุรกิจกับลูกค้า
     4. Customer-to-Customer (C2C) คือลูกค้าทำธุรกรรมกับลูกค้า
     5. Customer-to-Business (C2B) คือลูกค้าทำธุรกรรมกับธุรกิจ
     6. Mobile Commerce คือการทำธุรกรรมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่

กลุ่มธุรกิจที่ไม่ค้ากําไร (Non-Profit Organization)
     1. Intrabusiness (Organization) E-Commerce คือการทำธุรกิจภายในองค์การเอง
     2. Business-to-Employee (B2E) คือการให้บริการจากธุรกิจไปยังลูกจ้าง เช่นการยื่นใบลา ลาป่วยแบบอ อนไลน์
     3. Government-to-Citizen (G2C) คือการให้บริการจากภาครัฐไปยังภาคประชาชน เช่น อำเภอยิ้ม , เลื่อนล้อต่อภาษีที่สำนักงานขนส่ง สาขาหนองหอย
     4. Collaborative Commerce (C-Commerce) คือการเอาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอกนิกส์มาให้ความร่วมมือ ระหว่างตัวองค์กรต่าง ๆ ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกัน เช่น บริษัทเครือซีเมนต์ไทยกับสาขาย่อยต่าง ๆ
     5. Exchange-to-Exchange (E2E) คือการแลกเปลี่ยนข้อมูล
     6. E-Learning คือการสอน การสอบออนไลน์


E-Commerce Business Model
          แบบจำลองทางธุรกิจ คือวิธีดำเนินการทางธุรกิจที่ช่วยสร้างรายได้ อันจะทำให้บริษัทอยู่ต่อไปได้
และยังรวมถึงกิจกรรมที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการด้วย
  - ธุรกิจที่หารายได้จากค่าสมาชิก เช่นเว็บไซท์ Jobs.DB.com , Business Online
  - ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน เช่น Pay Pal , True Money 
  - ธุรกิจค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ร้านขายหนังสือ Amazon , ร้านขายของชำ 7dream
  - ธุรกิจที่หารายได้จากโฆษณา เช่นโฆษณาบน facebook , Yahoo , Pantip.com , Kapook.com
  - บริกาiรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ เช่น MERX , Buyers.Gov , อำเภอยิ้ม , เลื่อนล้อต่อภาษี , บริการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
  - ธุรกิจตลาดประมูลออนไลน์ เช่น Egghead , Priceline
  - ธุรกิจตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น PaperExchange , FoodMarketExchange , การจำหน่ายดอกไม้ออนไลน์
  - ธุรกิจที่ใช้ E-Commerce ในการเพิ่ม Productivity เช่น ด้านการบริหาร SCM , การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ CRM , การแลกเปลี่ยนข้อมูล EDI


ข้อดีและข้อเสียของ E-Commerce


ข้อดี

1.สามารถเปิดดำเนินการได้ตลอด24 ชั่วโมง
2.สามารถดำเนินการค้าขายได้อย่างอิสระทั่วโลก
3.ใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ
4.ไม่ต้องเสียค่าเดินทางในระหว่างการดำเนินการ
5.ง่ายต่อการประชาสัมพันธ์ และยังสามารถประชาสัมพันธ์ในครั้งเดียวแต่ไปได้ทั่วโลก
6.สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ใช้บริการอินเทอร์เนตได้ง่าย
7.ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาสำหรับผู้ซื้อและผู้ขาย
8.ไม่จำเป็นต้องเปิดเป็นร้านขายสินค้าจริงๆ


ข้อเสีย

1.ต้องมีระบบการรักษาความปลอดภัยของระบบที่มีประสิทธิภาพ
2.ไม่สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ไม่ได้ใช้บริการอินเทอร์เนตได้
3.ขาดความเชื่อมั่นในเรื่องการชำระเงินผ่านทางบัตรเครดิต
4.ขาดกฎหมายรองรับในเรื่องการดำเนินการธุรกิจขายสินค้าแบบออนไลน์
5.การดำเนินการทางด้านภาษียังไม่ชัดเจน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น